ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซต์ นายสุวัฒชัย แสงคำ โรงเรียนเมืองแกพิทยาคม อ.สตึก จ.บุรีรัมย์..ครับ..โทร 0819559894 email su_watchai11@hotmail.com...http://watchait.blogspot.com..***ยิน ดี ต้อน รับ ทุก ท่าน+++++ ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ......

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 4 อ่านก่อนสอบปลายภาคนะทุกคน

การจำแนกอาณาจักรของสัตว์


1. ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera) ส่วนใหญ่พบในน้ำเค็ม เช่น ฟองน้ำ

ลักษณะที่สำคัญ :

- รูปร่างคล้ายแจกันหรือเป็นก้อนมีสีสวยงาม

- ลำตัวเป็นโพรง (Spongyocoel) มีรูพรุนเป็นทางให้น้ำเข้า(Ostium) ทางน้ำออกเรียก ออสคูลัม (osculum) เป็นช่องขนาดใหญ่มีช่องเดียว มักอยู่ด้านบนของลำตัว

- มีโครงแข็งภายใน เรียกว่า สปิคูล (Spicule) มีหลายรูปแบบ อาจเป็นพวกหินปูน ,ซิลิกา หรืออาจมีแค่เส้นใยโปรตีน (Spongin fiber)

- ผนังด้านในมีเซลล์ที่มีลักษณะเป็นปลอกและมีแฟลกเจลลัม เรียก เซลล์คอลลา (Collar cell) หรือ Chomocyte

- การสืบพันธ์โดยแตกหน่อ และสร้างเจมมูล(แบบไม่อาศัยเพศ) สร้างไข่และสเปิร์มในตัวฟองน้ำ (แบบอาศัยเพศ)

2. ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylum Coelenterrata)

ลักษณะที่สำคัญ :

- รูปร่างมี 2 แบบ คือ กระดิ่งคว่ำ (Meudsa) ว่ายน้ำเป็นอิสระและ คล้ายต้นไม้เกาะอยู่กับที่

- ลำตัวอ่อนนุ่มในพวกปะการังมีโครงแข็งพวกหินปูนหุ้มอยู่ภาย นอก

- มีช่องแกสโตรวาสคูลาร์ (gastrovascular) เป็นช่องกลวงกลางรำตัว คล้ายถุง ทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารยังไม่มีทวารหนัก กากอาหาร ถูกขับออกทางปาก ซึ่งเป็นช่องเปิดเพียงช่องเดียว

- บริเวณรอบปากจะมีหนวดหลายเส้น ใช้จับอาหารที่หนวดจะมี เซลล์ไนโดปลาสต์ ที่มีเข็มพิษนีมาโตซิส (Nematocyse)ทำให้คน และสัตว์ตายได้

- มีร่างแหประสาท(Nervenet) ไม่มีสมองไม่มีอวัยวะ เฉพาะสำหรับ หายใจ ขับถ่ายและหมุนเวียนโลหิต

- การสืบพันธุ์ส่วนใหญ่ใช้การแตกหน่อ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์บนตัวเดียวกันเช่น ไฮดรา หรือแยกคนละตัว เช่น แมงกะพรุน

ตัวอย่างของสัตว์ในไฟลัมนี้ ไฮดรา ซีแอนนีโมนี ปะการัง กัลปังหา ปะการังนิ่ม โอปิเลีย ปากทะเล แมงกะพรุน และแมงกะพรุนไฟ

3. ไฟลัมแพททีเฮลมินทีส (Phylum Plartyhelminthes)

สัตว์ในไฟลัมนี้ส่วนใหญ่เป็นปรสิตอาศัยในร่างกายมนุษย์และสัตว์ ต่าง ๆ

ลักษณะที่สำคัญ :

- มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น เป็นพวกแรกผนังลำตัวอ่อนนิ่มมีซีเรีย ยกเว้นพวก ปรสิตจะมีคิวติเคิลหนา

- ลำตัวแบนยาว

- มีปากไม่มีทวารหนัก ลำไส้แตกแขนงทั่วตัว

- ระบบขับถ่ายเป็นเฟลมเซลล์

- มีสมองเป็นวงแหวนและมีเส้นประสาทตามยาว 1-3 คู่

- ไม่มีระบบหมุนเวียนโลหิต ไม่มีข้อหรือปล้องที่แท้จริง ไม่มี ปากช่องว่างในลำตัว

- การสืบพันธุ์ส่วนใหญ่อาศัยเพศ โดยมี 2 เพศในตัวเดียวกัน

ตัวอย่างสัตว์ในไฟลัมนี้ เช่น พลานาเรีย หนอนตัวแบน เช่น พยาธิใบไม้ในตับ ปอด ในเลือดและทางเดินอาหาร พยาธิตัวตืด

4. ไฟลัมนีมาเทลมินทิส (Phylum Nemathelminthes)

ได้แก่ พวกหนอนตัวกลม ส่วนใหญ่เป็นพวกปรสิตในคนและสัตว์

ลักษณะที่สำคัญ :

- ลำตัวกลมยาว หัวและท้ายแหลม ไม่มีปล้องและระยางค์ใด ๆ

- มีทางเดินอาหารสมบูรณ์คือ มีปากและทวารหนัก

- ไม่มีระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต พวกเป็นปรสิตจะหายใจ แบบไม่ใช้ O2 ส่วนพวกหากินเป็นอิสระจะหายใจทางผิวหนังและ บริเวณลำตัว

- ผิวหนังมีคิวติเคิลหนาทนต่อสิ่งแวดล้อมได้ดี

- มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ซูโดซีลอม (Pheudocoelom) มีกล้ามเนื้อตามยาวเท่า นั้นที่ใช้สำหรับเคลื่อนไหว

- มีสมองเป็นวงแหวนอยู่รอบทางเดินอาหาร และต่อกับเส้น ประสาทยาวตลอดตัว

- ระบบสืบพันธุ์จะแยกคนละตัว ตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้

ตัวอย่างของสัตว์ในไฟลัมนี้ เช่น พยาธิไส้เดือนตัวกลม พยาธิตัวจี๊ด

พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย ไส้เดือนฝอย และหนอน

ในน้ำส้มสายชู (ดำรงชีพอย่างอิสระ)

5. ไฟลัมแอนนีลิดา (Phylum Annelida)

พบทั้งบนบก ในน้ำจืดและน้ำทะเล

ลักษณะที่สำคัญ :

- ลำตัวกลมยาวเป็นวงแหวนต่อกันเป็นปล้อง ผิวหนังมีคิวติเคิลบาง ๆ มีต่อมสร้างเมือก เพื่อทำให้ลำตัวชุ่มชื้นตลอดเวลา มีระยางค์เรียก เดือย ในแต่ละปล้อง(ยกเว้น ปลิง)

- มีช่องว่างในลำตัวที่แท้จริง (Eucoelom) แบ่งเป็นห้องตามขวาง ลำตัวมีกล้ามเนื้อตามยาว และกล้ามเนื้อวงแหวน

- ระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ ระบบเลือดเป็นแบบปิด เลือดเป็นสี แดง เพราะมีฮีโมโกลบินละลายอยู่ในเลือด ส่วนเม็ดเลือดจะไม่มีสี

- หายใจทางผิวหนัง หรือเหงือก มีเนฟริเดียม (Nepheridium) ปล้อง 1 คู่ เป็นอวัยวะขับถ่าย มีรูปมีสมอง 1 คู่ มีเส้นประสาทเชื่อมกับเส้น ประสาทกลางตัวทางด้านล่าง มีอวัยวะรับความรู้สึกกับการสัมผัส กลิ่นและแสง

- ระบบสืบพันธุ์ มี 2 เพศในตัวเดียวกัน แต่ผสมพันธุ์ในตัวเองไม่ได้

ตัวอย่างสัตว์ในไฟลัมนี้ เช่น ไส้เดือนดิน ไส้เดือนทะเล ปลิงน้ำจืด ทากดูดเลือด โพลิขีด แม่เพรียง หรือตัวสงกรานต์

6. ไฟลัมอาร์โทรโปดา (Phylum Arthropoda)

ลักษณะที่สำคัญ :

- ลำตัวเป็นปล้องแบ่งเป็นส่วนหัว อก ท้อง ลำตัวมีสารไคตินหุ้มเป็น เปลือกหนา มีการลอกคราบ

- มีระยางค์ ต่อกันเป็นข้อทำให้เคลื่อนที่ได้เร็ว

- มีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์

- ระบบเลือดแบบเปิด เลือดจะออกจากหัวใจไปตามช่องว่างภายใน ลำตัวที่เรียกว่า ช่องฮีโมซีส (Haemocoel) แล้วไหลกลับเข้าสู่หัวใจที่ อยู่ด้านบนของลำตัว

- สัตว์ที่อยู่บนบกหายใจด้วยท่อลม หรือแผงปอด หรือสัตว์ที่อยู่ใน น้ำจะหายใจด้วยเหงือก บางชนิดมีแผงเหงือก

- กุ้งมีต่อมเขียว (Green gland)แมลงมีท่อมัลปิเกียน (Malpighim tubele) ส่วนสัตว์บางชนิดมีต่อม Coxal gland ที่โคนขาเป็นอวัยวะ ขับถ่าย

- มีสมองแบบวงแหวนล้อมรอบหลอดอาหาร ซึ่งไปเชื่อมกับเส้น ประสาทคู่ด้านท้อง ซึ่งจะมีปมประสาทอยู่ทุกปล้อง มีหนวด (antenna) และขนใช้รับสัมผัสและรับรู้สารเคมี มีอวัยวะรับเสียงและ การทรงตัว ตามีชนิดตาเดี่ยว

7 ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) สัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ หอย และปลาหมึก บางชนิดอยู่บนบกหรือเราเรียกสัตว์ในไฟลัมนี้ว่า มอลลัสก์ (Mollusc)

ลักษณะที่สำคัญคือ :

- มีลำตัวอ่อนนิ่ม มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น มีต่อมเมือก บางชนิดมีเปลือกแข็ง หุ้มทั้งแบบฝาเดี่ยวและฝาคู่

- มีหัวด้านหน้าลำตัวสั้น ด้านล่างมีแผ่นเท้าขุดฝังตัวและใช้ว่ายน้ำ

- เปลือกแข็งที่หุ้มถูกสร้างจากเยื่อแมนเทิล (Mantle)

- มีระบบหมุนเวียนเลือด มีหัวใจอยู่ด้านบนและมีเส้นเลือดนำเลือด ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ

- บางชนิดหายใจด้วยเหงือก บางชนิดมีถุงหายใจคล้ายปอด บางชนิด หายใจด้วยปอด เช่น หอยทาก และทาก

- มีไตเป็นอวัยวะขับถ่าย ถือเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกเดียว เท่านั้นที่ใช้ไตในการขับถ่าย

- มีปมประสาท 3 คู่ มีเส้นประสาทเชื่อมระหว่างปมประสาท มีอวัยวะรับภาพ รับกลิ่น และการทรงตัว สัตว์ในไฟลัมนี้เช่น หอยทาก หอยงวงช้าง หอยงาช้าง หอยกาบคู่ หอยกาบเดี่ยว เป๋าฮื้อ ทากทะเล ลิ่นทะเล หมึกทะเลชนิดต่าง ๆ

8. ไฟลัมเอไคโดเนอร์มาตา (Phylum Echinodemata) เป็นสัตว์ที่อยู่ ในทะเลทั้งสิ้น และไม่มีชนิดใดเป็นปรสิต

ลักษณะที่สำคัญ :

- มีโครงแข็งภายในเป็นหินปูนขรุขระ บางชนิดมีหนามยื่นออกมา

- จากจุดศูนย์กลางของลำตัวมีแขนยื่นออกมา รวมทั้งสามารถงอก ส่วนที่ขาดหายไปได้

- มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ มีปากอยู่ทางด้านล่างทวารหนัก เปิดอยู่ ทางด้านบน

- มีระบบเลือดแบบเปิด

- มีเท้าท่อหรือทิวป์ฟิต (Tube feel) ใช้เคลื่อนที่และหาอาหาร

- หายใจโดยใช้เหงือก

- มีระบบประสาทเป็นวงแหวนรอบปากและมีแขนงไปส่วนต่าง ๆ

- ระบบสืบพันธุ์แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอกตัว (External fertilization) บางชนิดสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

ตัวอย่างสัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ ดาวทะเล ดาวเปราะ ปลิงทะเล พลับพลึงทะเล

9. ไฟลัมคอร์ดาต้า (Phylum Chordata)

ลักษณะที่สำคัญ :

- มีโนโตคอร์ด (Notochord) เป็นแกนของร่างกายในระยะตัวอ่อน หรืออาจมีตลอดชีวิต

- มีช่องเหงือกในระยะตัวอ่อน เมื่อโตจะหายไป แต่บางชนิดจะมีอยู่ ตลอดชีวิต

- มีไขสันหลังเป็นท่อยาวกลม อยู่ด้านหลังเหนือโนโตคอร์ด เป็นแท่งที่เกิดจากเนื้อเยื่อ พวกมีโซเดิร์มอยู่เหนือทางเดินอาหารแต่ อยู่ใต้ไขสันหลัง จะมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมีลักษณะเป็นเส้นใยหุ้มเอาไว้
สรุปบทที่ 4


1.1 การย่อยอาหารของจุลินทรีย์

1.1.1 การย่อยอาหารของแบคทีเรียและรา

การย่อยเป็นการย่อยภายนอกเซลล์ (extracellular digestion) เนื่องจากแบคทีเรียและรา ไม่สามารถนำสารโมเลกุลใหญ่เข้าสู่เซลล์ ต้องส่งน้ำย่อยหรือเอนไซม์ออกย่อยสารโมเลกุลใหญ่ การย่อยสลายโดยแบคทีเรียและรา จะขึ้นอยู่กับเอนไซม์ของจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ ว่าสามารถย่อยสารใดได้บ้าง ทำให้เกิดความเฉพาะเจาะจง เช่น ยีสต์ มีเอนไซม์ในการย่อยสลายน้ำตาล และไม่มีเอนไซม์ย่อยแป้ง

1.1.2 การย่อยอาหารของโพรโทซัว

โพรโทซัวจัดเป็นโพรทิสต์ที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เพราะสร้างอาหารเองไม่ได้ ไม่มีผนังเซลล์ แต่สามารถเคลื่อนที่ได้ ไม่มีระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหาร แต่อาศัยส่วนต่างๆของเซลล์ในการน้ำอาหารเข้าสู่เซลล์ และย่อยภายใน เรียกว่า การย่อยภายในเซลล์ (intracellular digestion) เช่น อะมีบา และพารามีเซียม

• การย่อยอาหารของอะมีบา อะมีบาเคลื่อนที่ด้วยขาเทียม นำอาหารเข้าสู่เซลล์โดยการยื่นส่วนของขาเทียมออกไปโอบล้อมอาหารแลทำให้อาหารตกเข้าไปอยู่ภายในเซลล์ อาหารนี้จะเรียกว่า ฟูดแวคิวโอล (food vaceuole) – พบในเซลล์เม็ดเลือดขาว น้ำย่อยของอะมีบาส่วนใหญ่ เป็นกรดเกลือ (HCl)

การย่อยอาหารของพารามีเซียม พารามีเซียมเคลื่อนที่ด้วยขนเซลล์ (cilia) ขนเซลล์ที่บริเวณร่องปาก (undulating membrane) จะทำหน้าที่ในการโบกพัดให้อาหารตกลงสู่ร่องปาก (oral groove) จนถึงส่วนของคอหอยและถูกสร้างเป็นฟูดแวคิวโอว

อะมีบาและพารามีเซียมมีวิธีการกินอาหารที่แตกต่างกัน คือ อะมีบานำอาหารเข้าสู่เซลล์โดยวิธีการฟาโกไซโทซีส แต่พารามีเซียมมีขนเซลล์บริเวณร่องปากทำหน้าที่เป็นทางเข้าของอาหาร ซึ่งจะมีความเฉพาะเจาะจงกว่า

• การย่อยอาหารของยูกลีนา ได้อาหารโดยวิธีการสังเคราะห์ด้วยแสง เนื่องจากมีโครมาโทฟอร์ (chromatophroe) รงควัตถุที่มีคลอโรฟีลล์เอและคลอโรฟีลล์บี แล้วยังคงดำรงชีวิตแบบแซโพรไฟต์ได้ด้วย โดยย่อยอาหารที่อยู่รอบๆ แล้วส่งเข้าปาก สรุปได้ว่า ยูกลีนาเป็นทั้งผู้สร้างและผู้บริโภค


1.1 การย่อยอาหารของสัตว์

1.1.1 การย่อยอาหารของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง

1) การย่อยอาหารของสัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหาร

ฟองน้ำ (sponge) เป็นสัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหารหรือมีทางเดินอาหารเป็นแบบช่องร่างแห (channel network) แต่ก็ไม่ใช่ทางเดินอาหารที่แท้จริง เป็นเพียงทางผ่านของน้ำ ภายนอกàภายใน ประกอบด้วย

• ออสเทีย (ostia) เป็นรูเปิดเล็กๆ

หน้าที่ เป็นทางน้ำไหลเข้าสู่ลำตัวฟองน้ำ

ออสคิวลัม (osclum) เป็นรูที่มีขนาดใหญ่กว่าออสเทียและมักอยู่กลางลำตัว ที่ผนังด้านในมีเซลล์พิเศษ จะมีแส้เซลล์ เรียกว่า "เซลล์โคแอโนไซด์ (choanocyte)" โบกพัดตลอดเวลา

หน้าที่ เซลล์โคแอโนไซด์พัด ทำให้เกิดการไหลเข้าออกของน้ำ

อาหารของฟองน้ำ เป็นจำพวกแพลงตอนที่มากับน้ำ จะถูกเซลล์โคแอโนไซต์จับและย่อยแล้วส่งไปยังเซลล์

ที่คล้ายอมีบา เรียกว่า "เซลล์อะมีโบไซต์ (amoebocyte)" ทำหน้าที่ย่อย แล้วส่งไปยังเซลล์อื่นๆ

ฟองน้ำมีการย่อยอาหารภายในเซลล์เช่นเดียวกับโพรโทซัว แต่ต่างที่ฟองน้ำเป็นสัตว์หลายเซลล์และมีเซลล์เฉพาะ(เซลล์อะมีโบไซต์) ถึงอย่างนั้นการย่อยก็ยังคงไม่ซับซ้อนเช่นเดียวกับโพรโทซัว

2) การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์

เป็นทางเดินอาหารแบบปากถุง (on-hole-sac) เป็นแบบทางเดินอาหารเปิดทางเดียว มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก ปากทำหน้าที่ทั้งทางเข้าของอาหารและทางออกของกากอาหารไปพร้อมๆกัน จะเป็นระบบการย่อยที่ยังพัฒนาไปไม่มากนัก

1. การย่อยอาหารของไฮดรา

ไฮดราจัดเป็นซีเลนเทอเรตชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในไฟลัมซีเลนเทอราดา (coelenterate) มีทางเดินอาหารเป็นแบบปากถึง อาหารของไฮดราจะเป็นจำพวกตัวอ่อนของสัตว์ทะเลตัวเล็กๆ ไรน้ำ ไฮดรามี หนวดจับ (tentacle) อยู่รอบปากซึ่งเอาไว้จับอาหาร และให้เซลล์ที่มีเนมาโทซิสต์ (nematocyst) หรือเข็มพิษที่อยู่ที่หนวดจับแทงและฆ่าเหยื่อ ทางเดินอาหารจะอยู่ตรงกลางลำตัวเป็นท่อกลวง เรียกว่า ช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ (gastrovascular cavity) บุด้วยเซลล์ทรงสูงเรียกว่า ชั้นแกสโทเตอร์มิส (gastrodermis)

1. นิวทริทิพ เซลล์ (nutritive cell) เป็นเซลล์ที่มีลักษณะอ้วน บางเซลล์มีแส้เซลล์ 1 หรือ 2 เส้น เรียกว่า แฟลเจลเลตเซลล์ (flagellate cell) บางเซลล์มีลักษณะคล้ายอมีบ้า จริงเรีนกว่า อะมีบอยด์เซลล์ (amoeboidcell)

หน้าที่ อะมีบอยด์เซลล์ - ยื่นขาเทียมออกมาล้อมจับอาหารแล้วจังย่อยอาหารและทำหน้าที่ดูดอาหารที่ย่อยแล้ว ส่วนแฟลเจลเลตเซลล์ - โบกพัดให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำและอาหารภายในช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ และพัดกากอาหารให้เคลื่อนที่ออกด้วย

2. เซลล์ต่อมหรือเซลล์ย่อยอาหาร (gland cell or digestive cell) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยแล้วปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยอาหารพบมากบริเวณใกล้ๆปาก การย่อยโดยเซลล์ต่อม จัดเป็นการย่อยแบบนอกเซลล์ ส่วนการย่อยแบบ อะมีบอยด์เซลล์จัดเป็นการย่อยแบบภายในเซลล์

1. การย่อยอาหารของหนอนตัวแบน

เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส (platyhelminthes) จำพวก พลานาเรีย พยาธิใบไม้และพยาธิตัวตืด

1. การย่อยอาหารของพลานาเรีย

อาหารของพลานาเรีย ได้แก่ เนื้อสัตว์ชิ้นเล็กๆ ตัวอ่อนแมลง ไรน้ำ หนอนเล็กๆ ทางเดินอาหารของพลานาเรียมี 3 แฉก ปากอยู่บริเวณกลางลำตัวและมีงวงหรือโพรบอซิส (probosis) ที่ยืดหดได้คอยจังอาหารเข้าสู่ปาก ทางเดินอาหารส่วนหัวมี 1 แฉก และลำตัว มี 2 แฉก แต่ละแฉกจะมีแขนงของทางเดินอาหารแยกแขนงแยกย่อยออกไปอีก เรียกว่า "ไดเวอร์ทิคิเวลัม" (diverticulum) ส่วนกากอาหาร ก็จะถูกส่งออกทางปาดเช่นเดียวกัน

2. การย่อยอาหารของพยาธิใบไม้

ประกอบไปด้วยปากอยู่ทางด้านบนสุดต่อจากปากเป็นคอหอย (pharynx) เป็นกล้ามเนื้อหนา ต่อจากคอหอยเป็นหลอดอาหารสั้นๆ ต่อกับสำไส้ (intestine) แตกแขนงเป็น 2 แฉกใหญ่ๆ และแตกย่อยๆไปทั่วร่างกาย ไดเวอร์ทิคิวลัม(แขนง)ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ โดยไม่ต้องอาศัยระบบการลำเลียง ส่วนกากอาหารก็ถูกกำจัดออกทางปาก

3. การย่อยอาหารของพยาธิตัวตืด

เป็นสัตว์ที่ไม่มีระบบทางอาหาร ที่ส่วนหัวของพยาธิตัวตืด มีแว่นดูด (sucker) ทำหน้าที่ ดูดเกาะตัวถูกเบียดเบียนหรือโฮสต์ (host) ในพยาธิตัวตืดหมูและพยาธิตัวตืดวัว มีแว่นดูด 4 อัน และยังมี ขอ(hook) ทำหน้าที่เกาะและยึดติดกับผนังลำไส้ของตัวโฮสต์ พยาธิตัวตืดจะเก็บสะสมอาหารในรูปของไกลโคเจน ถ้าพยาธิตัวตืดขาดแคลนอาหารจะนำไกลโคเจนมาใช้ และถ้าหมดจะนำไข่แดงมาใช้ ถ้าหมดก็จะนำอวัยวะสืบพันธุ์มาใช้ ซึ่งทำให้ตัวมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ และตายยากมาก

1. การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์

1. การย่อยอาหารของหนอนตัวกลม

จัดอยู่ในไฟลัมเนมาโทดา (nematode) ระบบย่อยอาหารเป็นแบบเปิด 2 ทาง หรือท่อกลวง (two hole tube) เริ่มจาก ปาก à คอหอย ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อหนาและสั้น à ลำไส้เล็กยาว à ทวารหนัก ซึ่งจะเปิดรวมกับท่อของระบบสืบพันธุ์เป็นทวารร่วมหรือโคลเอกา (cloaca) ส่วนตัวเมียทวารหนักจะแยกกับท่อสืบพันธุ์ ช่วงของลำไส้มีความยาวเกือบตลอดลำตัว มีการย่อยและดูดซึมในบริเวณนี้


ปาก à คอหอย à ลำไส้เล็ก à ทวารร่วม à ทวารหนัก

2. การย่อยอาหารของหอยกาบ

1. ปาก – อยู่ใต้กล้ามเนื้อยึดฝาทางด้านหัว ประกอบด้วยช่องปากเล็กๆ 2 ข้าง มีแผ่นเนื้อรูปสามเหลี่ยมเรียกว่า เลเบียลพัลพ์ (labial palp) ข้างละคู่ โบกพัดอาหารใส่ปาก

2. หลอดอาหาร – เป็นท่อสั้นๆต่อจากปาก à กระเพาะอาหาร

3. กระเพาะอาหาร – เป็นถุงเล็กๆ ผนังหนา ฝังอยู่ในตับ (digestive gland) ตับสร้างน้ำย่อยส่งไปกระเพาะ

4. ลำไส้ – เป็นท่อยาวขดไปขดมาฝังอยู่ภายในอวัยวะสืบพันธุ์ (gonad) ส่วนปลายวกกลับขึ้นมาข้างบน ระดับเดียวกับกระเพาะ

5. ไส้ตรง – ท่อที่ต่อจากลำไส้เล็กมีลักษณะเป็นท่อตรงยาวไปตามความยาวของลำตัวด้านหลัง ผ่านเข้าไปในเพอริคาร์เดียม และแทงทะลุหัวใจส่วนเวนทริเคิล

6. ทวารหนัก – อยู่ส่วนปลายของไส้ตรงเหนือกล้ามเนื้อยึดกาบทางตอนท้ายลำตัว เปิดออกตรงช่องน้ำออก (excurrent siphon) อาหารเป็นจำพวกแพลงก์ตอนพืชและสัตว์เล็กๆที่ไหลมาตามน้ำ เข้าทางช่องน้ำเข้า(incurrent siphon) เลเบียลพัลพ์ทำหน้าที่โบกพัดและกวาดให้อาหารตกลงไปในปาก à หลอดอาหาร à กระเพาะอาหาร à ลำไส้ à กากอาหาร à ทวารหนัก ซึ่งจะออกไปพร้อมน้ำทางช่องน้ำออก

ตับ (สร้างน้ำย่อย)

ปาก à หลอดอาหาร à กระเพาะอาหาร à ลำไส้ à ไส้ตรง à ทวารหนั

3. การย่อยอาหารของไส้เดือน

เป็นสัตว์จำพวกหนอนตัวกลมมีปล้องต้องจัดอยู่ในไฟลัมแอนเนลิดา อาหารจะเป็นจำพวก เศษพืช และอินทรีย์ ระบบการย่อยอาหารประกอบด้วย

1. รูเปิดทางด้านหน้าของปล้องที่หนึ่งถือว่าเป็นปาก

2. ช่องปาก (buccal cavity)

3. คอหอย (pharynx) ที่มีลักษณะพองออก ที่คอหอยจะมีกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ ฮุบดิน และ ดันให้ดินพร้อมอาหารผ่านเข้าสู่หลอดอาหาร (esophagus)

4. กระเพาะพักอาหาร (crop)

5. กึ๋น (gizzard) เป็นส่วนที่เรียกว่ากระเพาะบดอาหาร ภายในมีกล้ามเนื้อหนาและแข็งแรง ทำหน้าที่บดอาหารให้มีขนาดเล็กลง

6. ลำไส้ เป็นทางเดินอาหารที่มีขนาดยาวมากที่สุด เซลล์เยื้อบุผนังจะสร้างน้ำย่อยมาย่อยอาหาร แล้วอาหารที่ถูกย่อยแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบลำเลียง

7. ทวารหนัก กากอาหารที่ย่อยไม่ได้แล้วจะถูกส่งมายังทวารหนักแล้วขับออกนอกร่างกาย

ทางด้านบนของลำไส้จะมีส่วนที่ยื่นลงมา เรียกว่า ไทโฟลโซล (typholsole) ช่วยให้ลำไส้ขยายขนาดขึ้นเมื่อมีอาหารอยู่ภายใน และเพิ่มประสิทธิภารในการย่อยและดูดซึม


ปาก à ช่องปาก à คอหอย à หลอดอาหาร à ลำไส้ à กระเพาะอาหาร à กระเพาะบดอาหาร à ทวารหนัก à ลำไส้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น