ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซต์ นายสุวัฒชัย แสงคำ โรงเรียนเมืองแกพิทยาคม อ.สตึก จ.บุรีรัมย์..ครับ..โทร 0819559894 email su_watchai11@hotmail.com...http://watchait.blogspot.com..***ยิน ดี ต้อน รับ ทุก ท่าน+++++ ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ......

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ใบงานเรื่องเคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตน่ะจ๊ะ

บทที่ 2


เคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต



สารเคมีในสิ่งมีชีวิต ได้แก่ สารอนินทรีย์ และสารอินทรีย์

1 สารอนินทรีย์ ได้แก่ น้ำ(water) และแร่ธาตุ (mineral)

2 สารอินทรีย์ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรท (carbohydrate) โปรตีน (protein) ไขมัน (lipid) กรดนิวคลิอิก (nucleic acid) และวิตามิน (vitamin)

1.1สารอินทรีย์ คือสารที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก และส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งมีชีวิตผลิตขึ้นมา ดังนั้นเราจึงพบสารอินทรีย์อยู่ภายในเนื้อเยื่อ และร่างกายของสิ่งมีชีวิต

1.1.1สารอินทรีย์ที่ไม่ได้เป็นสารอาหาร คือ ................................................................................

1.1.2สารอินทรีย์ที่ไม่ได้เป็นสารชีวโมเลกุล ตือ .........................................................................

1.1.3สารอินทรีย์ที่ไม่ได้เป็นสาร polymer คือ .............................................................................



น้ำ(Water)

- เป็นโมเลกุลที่มีขั้ว (polar)

- อะตอมของไฮโดรเจน กับออกซิเจน ยึดกันด้วยพันธะ.......................................

- แต่ละโมเลกุลยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงที่เรียกว่า......................................................

- เป็นตัวท้าละลายที่ดี และมีความจุความร้อนสูง



ในร่างกายของเรามีน้ำประมาณ 75 % ร่างกายต้องการน้ำวันละประมาณ 3 ลิตร

แร่ธาตุ (Mineral)




ชนิดของแร่ธาตุ



หน้าที่

ก. แร่ธาตุในพืช

1. ไนโตรเจน

เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน โปรตีน โคเอนไซม์กรดนิวคลีอิก สารสี เช่น คลอโรฟิลล์

2. ฟอสฟอรัส เป็นองค์ประกอบของนิวคลีโอโปรตีนและฟอสโฟลิพิดเยื่อหุ้มเซลล์

3. โพแทสเซียม เป็นโคแฟกเตอร์ของเอนไซม์หลายชนิด ช่วย ปิด – เปิด ปากใบของพืช เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ของกระบวนการหายใจ ช่วยให้พืชดูดน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. แคลเซียม เป็นองค์ประกอบในการสร้างแผ่นกั้นเซลล์ จ้าเป็นต่อการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ เป็นตัวกระตุ้นการท้างานของเอนไซม์บางชนิด

5. แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ เป็นตัวเร่งกระบวนการเมแทบอลิซึมของแป้ง กรดนิวคลีอิก และฟอสเฟต

6. กำามะถัน เป็นองค์ประกอบของโปรตีน และเป็นโคเอนไซม์

ข. แร่ธาตุในคน

1. แคลเซียม

เป็นองค์ประกอบของกระดูก ฟัน ช่วยในการแข็งตัวของเลือด และการหดตัวของกล้ามเนื้อ

2. ฟอสฟอรัส เกี่ยวข้องกับการเจริญของกระดูก การสร้าง DNA และกระบวนการเมแทบอลิซึม

3. แมกนีเซียม เป็นโคแฟกเตอร์ของเอนไซม์ ช่วยในการทำงานของเซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อ

4. โพแทสเซียม ช่วยรักษาสมดุลของออสโมซิสภายในเซลล์ ช่วยการถ่ายทอดกระแสประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ

5. คลอรีน รักษาสมดุลของความเป็นกรด – เบส เป็นองค์ประกอบของกรดไฮโดรคลอริกในกระเพาะอาหาร

6. ไอโอดีน เป็นองค์ประกอบของฮอร์โมนไทรอกซินจากต่อมไทรอยด์

7. เหล็ก เป็นองค์ประกอบของฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดงช่วยล้าเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆ

8. โคบอลต์ เป็นองค์ประกอบของวิตามิน B12

9. โซเดียม รักษาดุลยภาพของความเป็นกรด – เบส สมดุลของน้ำในร่างกาย ช่วยถ่ายทอดกระแสประสาทร่วมกับโพแทสเซียม

10. ฟลูออไรด์ เป็นองค์ประกอบของสารเคลือบฟัน ป้องกันฟันผุ ช่วยให้กระดูกแข็งแรง และช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก

สารอินทรีย์


สารอินทรีย์ เป็นสารที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก และส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งมีชีวิตผลิตขึ้นมา ดังนั้นเราจึงพบสารอินทรีย์อยู่ภายในเนื้อเยื่อ และร่างกายของสิ่งมีชีวิต บางชนิดเป็นสารโพลิเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบในเซลล์สิ่งมีชีวิต

มี 5 ชนิด ได้แก่

1. คาร์โบไฮเดรท

2. โปรตีน

3. ไขมัน

4. กรดนิวคลิอิก

5. วิตามิน

สารชีวโมเลกุล (Macro molecule) จะเป็นสารโมเลกุลใหญ่ แต่ละตัวจะมีหมู่ฟังก์ชั่น (functional group) แตกต่างกัน และท้างานแตกต่างกันในร่างกายสิ่งมีชีวิต สารชีวโมเลกุล ได้แก่ คาร์โบไฮเดรท (carbohydrate) โปรตีน (protein) ไขมัน (lipid) และ กรดนิวคลิอิก (nucleic acid) ส่วนวิตามินเป็นสารอินทรีย์โมเลกุลเล็ก ไม่นับเป็นสารชีวโมเลกุล



คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)

มีสูตรโครงสร้างทั่วไป คือ (CH2O)n ได้แก่ น้ำตาล และสารที่มีน้ำตาลเป็นองค์ประกอบ

เมื่อสลายโมเลกุล จะให้พลังงาน 4 kcal / g

a. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ได้แก่ กลูโคส, ฟรุกโทส, กาแลคโตส

b. น้ำตาลโมเลกุลคู่ ได้แก่ ซูโครส (Glu + Fruc) , มอลโตส (Glu + Glu), แลคโตส (Glu + Galac)

c. น้ำตาลโมเลกุลใหญ่ ได้แก่ แป้ง, ไกลโคเจน, เซลลูโลส, ไคติน, ลิกนิน

สารอินทรีย์ จำนวนอะตอมคาร์บอน ชื่อมอโนแซ็กคาไรด์


3 ไดรไอส (triose)

4 เทโทรส (tetrose)

5 เพนโทส (pentose)

6 เฮกโซส (hexose)

7 เฮพโทส (heptose)







สูตรโครงสร้างของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ระหว่างโมเลกุลน้ำตาล เชื่อมกันด้วยพันธะ .................................................................................................................................

*โมเลกุลของโพลิแซคคาไรด์

**แป้ง มีโครงสร้าง 2 แบบ คือ อะไมโลส และ อะไมโลเพกติน

**แป้ง ไกลโคเจน และเซลลูโลส ประกอบโมเลกุลย่อยเหมือนกัน คือ ...........................

**พันธะที่มีท้าให้เกิดโครงสร้างโซ่กิ่ง คือ .......................................................................

โปรตีน (Protein)


เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่พบมากเป็นอันดับสอง รองจากน้ำมีหน้าที่สำคัญ คือ เป็นโครงสร้างของเซลล์ และเป็นเอนไซม์ เร่งปฏิกริยาเคมีภายในเซลล์ ให้พลังงาน 4 kcal / g

หน่วยย่อยของโปรตีน มีกรดอะมิโนประกอบ ธาตุองค์ประกอบที่สำคัญ คือ C, H, O, N

กรดอะมิโน มีทั้งหมด 20 ชนิด แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. กรดอะมิโนที่จำเป็น (essential amino acid)

2. กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (non-essential amino acid)



กรดอะมิโนที่จำเป็น กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น

Arginine** Histidine** Isoleucine Leucine Lysine

Methionine Phenylalanine Threonine Tryptophan Valine Alanine Sapartic acid Cystine Glutamic acid

Glycine Hydroxyproline Proline Serine Tyrosine



*โปรตีนสามารถเรียงตัวเป็นเส้น (fibrous protein) เช่น โปรตีนในเส้นผม

*โปรตีนเรียงตัวเป็นก้อน (globular protein) เช่น เอนไซม์ต่างๆ, โปรตีนที่ใช้ต่อต้านสิ่งแปลกปลอม (immunoglobulin), โปรตีนเคซินในน้ำนมเป็นต้น

โปรตีน สามารถเสียสภาพได้ (denature) ทำให้โปรตีน.......................................................

โดยมีสาเหตุจาก...........................................................................................

ไขมัน (Lipid)


เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว เช่น คลอโรฟอร์ม, อีเธอร์ ประกอบด้วยธาตุ C, H, O เหมือนคาร์โบไฮเดรท (แต่อัตราส่วน H: O ไม่เท่ากับ 2: 1)

*ให้พลังงาน 9 kcal / g

*โมเลกุลของไขมันส่วนใหญ่ ประกอบด้วย กรดไขมัน (fatty acid) 3 โมเลกุล กับ

กลีเซอรอล (glycerol) 1 โมเลกุล

*การย่อยสลายไขมันจะใช้ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส ในคนจะย่อยอาหารพวกไขมันในอวัยวะส่วน…………………………………………………………………….............................

*ไขมันใต้ผิวหนังสามารถเปลี่ยนรูปไปเป็นวิตามินดีได้ เมื่อได้รับการกระตุ้นจากรังสี UV

*ช่วยละลายวิตามิน A D E K, เป็นแหล่งสร้างฮอร์โมน, น้ำดี, คอเลสเตอรอล

*ไขมันมีหน้าที่เป็นโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์

กรดไขมัน มี 2 ชนิด คือ

1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid) พบมากในไขมันสัตว์ เนย และน้ำมันมะพร้าว

เมื่ออุณหภูมิต่ำ จะเป็นของแข็ง (เป็นไข)

2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid) พบในน้ำมันจากพืช มีความสำคัญทางโภชนาการมาก

ความแตกต่างระหว่างโมเลกุลนิวคลิโอไทด์ของ DNA กับ RNA ได้แก่หมู่..................................

*เบส A กับ T ยึดเหนี่ยวกันด้วย ..................................................

*เบส C กับ G ยึดเหนี่ยวกันด้วย ..................................................

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เตรียมตัวก่อนสอบนะจ๊ะ

เตรียมตัวสอบปลายภาคเรียน  นะจ๊ะทุกคน
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีความแตกต่างกันคือ
ก.เซลล์พืชมีแวคิวโอล
ข.เซลล์สัตว์มีนิวเคลียส
ค.เซลล์พืชมีผนังเซลล์หนาและแข็งแรง
ง.ถูกทุกข้อ
 Gullet  คืออะไร
ก. ช่องรอบ ๆ โคนแฟลกเจลลัม  พบในพารามีเซียม
ข. ช่องรอบ ๆ โคนแฟลกเจลลัม  พบในยูกลีนา
ค. บริเวณสร้างเมือก  พบในพารามีเซียม
ง. บริเวณสร้างเมือ  พบในยูกลีนา
  ไลโซโซมในโพรโทซัว  จะเทียบได้กับอวัยวะใดของคน
ก. ตับและตับอ่อน                              
ข. ตับอ่อนและลำไส้เล็ก
ค. ตับและกระเพาะอาหาร
ง. กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก
 สิ่งมีชีวิตในข้อใดมีการนำอาหารเข้าสู่เซลล์แบบฟาโกไซโทซีสและพิโนไซโทซีส
ก. อะมีบา            
ข. ยูกลีนา             
ค. แบคทีเรีย        
ง. พารามีเซียม
 ข้อใดจำเป็นสำหรับอะมีบาในการนำอาหารเข้าสู่เซลล์
ก. Pseudopodium              
ข. Oral  groove
ค. Flagellum
ง. Cilia
ยีสต์สร้างเอนไซม์ชนิดใดในการย่อยน้ำตาล
ก. ซูเครส             
ข.แลกเทส            
ค. กาแลกเทส      
ง. อินเวอร์เทส
 การย่อยอาหารของโพรตีสเซลล์เดียวเกิดขึ้นที่บริเวณใด
ก. Contractile  vacuole    
ข. Food  vacuole                               
ค. Mitochondria                
ง. Nucleus
 ออร์แกเนลล์ใดที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหารภายในเซลล์มากที่สุด
ก. Contractile  vacuole    
ข. Ribosome       
ค. Lysosome       
ง. Golgi  body
 การย่อยอาหารของแบคทีเรียเป็นแบบใด
ก. Intercellular  digestion                               
ข. Extercellular  digestion
ค. Intracellular  digestion
ง. Extracellular  digestion
 ข้อใดผิด
ก. อะมีบามีการย่อยอาหารภายในเซลล์        
ข. พารามีเซียมไม่มีระบบทางเดินอาหาร
ค. พารามีเซียมนำอาหารเข้าสู่เซลล์ด้วยวิธีฟาโกไซโทซีส
ง. อะมีบานำกากอาหารออกนอกเซลล์ด้วยวิธีเอกโซไซโทซีส
รามีกระบวนการอย่างไรจึงสามารถนำแป้งไปใช้ในการเจริญเติบโตได้
ก. ใช้กระบวนการพิโนไซโทซิส    
ข. ใช้กระบวนการฟาโกไซโทซีส
ค. มีเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยแป้ง   
ง. มีการย่อยแป้งภายในเซลล์
 สิ่งมีชีวิตในข้อใดที่มีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์
1.  ปลาปากกลม  2.  ปลาฉลาม3.  ปลากระดูกแข็ง      4. สัตว์ปีก
ก.  1,2                  
ข. 3,4                    
ค. 4                       
ง. 1,2,3,4
 ลิ้นเวียน (spiral)  ภายในลำไส้ปลาฉลาม  มีหน้าที่อย่างไร
ก.  ถ่วงเวลาอาหาร                           
ข.บดเคี้ยวอาหารให้ละเอียดขึ้น                       
ค.ให้อาหารผ่านได้สะดวกขึ้น         
ง. เพิ่มพื้นที่ผิวในการสัมผัสอาหาร
 ข้อใดถูก
1.  ไฮดรามีการย่อยทั้งภายในและภายนอกเซลล์
2.  พารามีเซียมมีช่องเปิด 2 ทาง (two hole tube)
3.  หอยกาบมีกึ๋นช่วยในการย่อยอาหาร
ก.  1                      
ข.  2                      
ค.  3                      
ง. 1,2
 ระบบทางเดินอาหารของไฮดราเป็นแบบใด
  Channel                          
ข.  Onw  hole  sac
ค.  Two  hole  tube          
ง.  ไม่มีระบบทางเดินอาหาร
 ข้อใดสัมพันธ์กัน
ก.  ฟองน้ำ ไม่มีช่องเปิด                              
ข.  พยาธิตัวตืด ปากแบบถุง
ค.  พยาธิใบไม้ในตับ ช่องร่างแห               
ง.  พยาธิไส้เดือน ช่องเปิด 2 ทาง
 ฟองน้ำจะมีเซลล์ชนิดหนึ่งที่มีแฟลกเจลลัมและมีปลอกห้อมโดยจะใช้แฟลกเจลลัมพัดโบกอาหารที่มากับน้ำเข้าไปในปลอก  เรียกตัวเซลล์นั้นว่า
ก.  Lysosome                     
ข.  Choanocyte                  
ค.  Chontractile  vacuole
ง.  Gastrovascula  cavity
 ระบบทางเดินอาหารของไฮดราต่างจากไส้เดือนดินอย่างไร
ก.  Incomplete  digestive  tract                     
ข.  complete  digestive  tract
ค.  Extracellula  digestion                              
ง.  Intracellula  digestion
 ส่วนใดของกระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง  เปรียบเทียบได้กับกระเพาะอาหารของคน
ก.  Rumen           
ข.  Omasum        
ค.  Reyiculum    
ง.  Abomasum
 สัตว์ชนิดใดต่อไปนี้ควรมีลำไส้ยาวที่สุด
ก.  ไก่                   
ข.  เสือ                 
ค.  กวาง                               
ง.  ฉลาม
 สัตว์พวกใดที่มีระบบทางเดนอาหารสมบูรณ์เป็นพวกแรก
ก. ไฮดรา              
ข. ไส้เดือนดิน                    
ค. พยาธิไส้เดือน
ง. หนอนตัวแบน
 ในการย่อยอาหาร  กระบวนการเพอริสตัลซีสเกิดขึ้นที่ขั้นตอนใดของทางเดินอาหาร
1.  คอหอย  2.  หลอดอาหาร 3.กระเพาะอาหาร  4. ลำไส้เล็ก
ก.  1,2                  
ข.  3,4                  
ค.  1,2,3                               
ง.  2,3,4
 อาหารที่ถูกย่อยเป็นอันดับแรกสุด  และอันดับท้ายสุดในทางเดินอาหารคือ
ก.  ไก่ย่างและมันหมู        
ข.  ข้าวเหนียวและมันหมู    
ค.  มันหมูและข้าวเหนียว     
ง. ข้าวเหนียวและไก่ย่าง
เอนไซม์ชนิดใดจะมีประสิทธิภาพการย่อยต่ำมากเมื่อทำงานในลำไส้เล็ก
ก.  ทริปซิน                          
ข. ไลเพส                             
ค.  เพปซิน                          
ง.  อะไมเลส
 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของ  Larg  intestine
ก.  Absorb  น้ำ                   
ข.  ย่อยโปรตีน                   
ค.  Absorb  เกลือแร่          
ง.  เป็นแหล่งพักกากอาหาร
 ท่านสามารถกลืนน้ำลายพร้อมกับการหายใจได้หรือไม่
ก.  ได้เพราะหลอดลมกับหลอดอาหารแยกกัน            
ข.  ได้เพราะมี  Epiglottis  ปิดหลอดอาหารอยู่
ค.  ไม่ได้เพราะมี  Epiglottis  ปิดหลอดลมอยู่            
ง.  ไม่ได้เพราะ  Epiglottis  ปิดหลอดอาหารอยู่
ลำไส้เล็กมีความเหมาะสมในการดูดซึมอาหารเพราะเหตุใด
ก.  ผนังลำไส้เล็กบาง                        
ข.  ภายในมีวิลลัสมากมาย
ค.  มีเส้นเลือดฝอยมาหุ้มมาก          
ง.  มีเส้นเลือดเชื่อมโยงติดต่อกับตับ
 อวัยวะใดหลั่งไลเพส  เพื่อย่อยไขมันจนได้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล
ก.  ตับและลำไส้เล็ก          
ข.  ตับและกระเพาะอาหาร             
ค.  ตับอ่อนและลำไส้เล็ก                 
ง.  กระเพาะอาหาร
 สูตรฟันแท้ของคน(I:C:PM:M)  คือ
ก.  2:1:2:1           
ข.  1:1:1:2           
ค.  2:1:2:3           
ง.  2:1:3:2
น้ำดีจากถุงเก็บน้ำดีและน้ำย่อยจากตับอ่อนส่งมายังลำไส้เล็กบริเวณใด
ก.  ไอเลียม          
ข.  เจจูนัม            
ค.  ดูโอดีนัม        
ง.  รอยต่อระหว่างเจจูนัมและดูโอดีนัม
 อวัยวะในระบบย่อยอาหารส่วนใดต่อไปนี้มีความสำคัญในการย่อยอาหารน้อยที่สุด
ก.  กระเพาะอาหาร           
ข.  ลำไส้เล็ก        
ค.  ตับอ่อน          
ง.  ตับ
 ข้อใดเป็นจริงเกี่ยวกับปฏิกิริยาคายพลังงาน
1.  สารตั้งต้นมีพลังงานมากกว่าสารผลิตภัณฑ์
2.  เป็นปฏิกิริยาที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยเมื่อไม่ได้รับพลังงานกระตุ้น
3.  หลังเกิดปฏิกิริยาจะทำให้สภาพแวดล้อมมีความร้อน
ก.  1                      
ข.  1,2                  
ค.  1,3                  
ง.  1,2,3
 กิจกรรมหรือการลำเลียงสารในข้อใดใช้พลังงานจากกระบวนการหายใจ
1.  การเคลื่อนย้ายออร์แกเนลภายในเซลลล์
2.  การไหลของไซโทพลาสซึม
3.  ฟาโกไซโทซีส
4.  พิโนไซโทซีส
ก.  1,2                  
ข.  3,4                  
ค.  1,3,4                               
ง.  1,2,3,4
 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ  ATP 
1.  การสร้างATP  เป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน
2.  การสร้างATP  เกิดขึ้นทั้งในกระบวนการหายใจและการสังเคราะห์แสง
3.  การสร้างATP  ในเซลล์มนุษย์ให้พลังงานมากกว่า 7.3  กิโลแคลโลรี่/โมล
ก.  1,2                  
ข.  2,3                  
ค.  1,3                  
ง.  1,2,3
 สารในข้อใดเป็นรงควัตถุในรูปโปรตีนซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ
ก.FAD                  
ข.  NAD                              
ค.  Cytochrome                 
ง.  Coenzyme
 โครงสร้างของ ATP  ประกอบด้วยข้อใดบ้าง
ก.  หมู่ฟอสเฟต                  
ข.  เบสอะดีนีน                  
ค.  น้ำตาลไรโบส                               
ง.  ทุกข้อที่กล่าวมา
 กระบวนการสร้าง ATP  จาก  ADP  และหมู่ฟอสเฟต  เรียกกระบวนการนี้ว่า
ก.  ดีไฮเดรชัน                    
ข.  แอนนาบอลีซึม                            
ค.  ไฮโดรไลซีส                 
ง.  ฟอสโฟรีเลชัน
 การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำได้แก่
ก.  ดีไฮเดรชัน                    
ข.  แอนนาบอลิซึม                            
ค.  แคทาบอลิซึม                
ง.  ฟอสโฟริเลชัน
 โครงสร้างในข้อใดของไมโทคอนเดรียมีลักษณะคล้ายวิลลัสในลำไส้เล็กของคน
ก.  Crista                             
ข.  Matrix                            
ค.  Particle                          
ง.  Outer  membrane
 สารเคมีที่ให้พลังงานแก่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด  คือ
ก.ATP                  
ข.  ADP                               
ค.  DNA                              
ง.  RNA
  FAD  ทำหน้าที่รับและถ่ายทอดไฮโดรเจนในข้อใดบ้าง
ก.  ไกลโคไลซีส                
ข.  วัฏจักรเครบส์               
ค.  การถ่ายทอดอิเล็กตรอน              
ง.  ข,ค  ถูก

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 4 อ่านก่อนสอบปลายภาคนะทุกคน

การจำแนกอาณาจักรของสัตว์


1. ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera) ส่วนใหญ่พบในน้ำเค็ม เช่น ฟองน้ำ

ลักษณะที่สำคัญ :

- รูปร่างคล้ายแจกันหรือเป็นก้อนมีสีสวยงาม

- ลำตัวเป็นโพรง (Spongyocoel) มีรูพรุนเป็นทางให้น้ำเข้า(Ostium) ทางน้ำออกเรียก ออสคูลัม (osculum) เป็นช่องขนาดใหญ่มีช่องเดียว มักอยู่ด้านบนของลำตัว

- มีโครงแข็งภายใน เรียกว่า สปิคูล (Spicule) มีหลายรูปแบบ อาจเป็นพวกหินปูน ,ซิลิกา หรืออาจมีแค่เส้นใยโปรตีน (Spongin fiber)

- ผนังด้านในมีเซลล์ที่มีลักษณะเป็นปลอกและมีแฟลกเจลลัม เรียก เซลล์คอลลา (Collar cell) หรือ Chomocyte

- การสืบพันธ์โดยแตกหน่อ และสร้างเจมมูล(แบบไม่อาศัยเพศ) สร้างไข่และสเปิร์มในตัวฟองน้ำ (แบบอาศัยเพศ)

2. ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylum Coelenterrata)

ลักษณะที่สำคัญ :

- รูปร่างมี 2 แบบ คือ กระดิ่งคว่ำ (Meudsa) ว่ายน้ำเป็นอิสระและ คล้ายต้นไม้เกาะอยู่กับที่

- ลำตัวอ่อนนุ่มในพวกปะการังมีโครงแข็งพวกหินปูนหุ้มอยู่ภาย นอก

- มีช่องแกสโตรวาสคูลาร์ (gastrovascular) เป็นช่องกลวงกลางรำตัว คล้ายถุง ทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารยังไม่มีทวารหนัก กากอาหาร ถูกขับออกทางปาก ซึ่งเป็นช่องเปิดเพียงช่องเดียว

- บริเวณรอบปากจะมีหนวดหลายเส้น ใช้จับอาหารที่หนวดจะมี เซลล์ไนโดปลาสต์ ที่มีเข็มพิษนีมาโตซิส (Nematocyse)ทำให้คน และสัตว์ตายได้

- มีร่างแหประสาท(Nervenet) ไม่มีสมองไม่มีอวัยวะ เฉพาะสำหรับ หายใจ ขับถ่ายและหมุนเวียนโลหิต

- การสืบพันธุ์ส่วนใหญ่ใช้การแตกหน่อ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์บนตัวเดียวกันเช่น ไฮดรา หรือแยกคนละตัว เช่น แมงกะพรุน

ตัวอย่างของสัตว์ในไฟลัมนี้ ไฮดรา ซีแอนนีโมนี ปะการัง กัลปังหา ปะการังนิ่ม โอปิเลีย ปากทะเล แมงกะพรุน และแมงกะพรุนไฟ

3. ไฟลัมแพททีเฮลมินทีส (Phylum Plartyhelminthes)

สัตว์ในไฟลัมนี้ส่วนใหญ่เป็นปรสิตอาศัยในร่างกายมนุษย์และสัตว์ ต่าง ๆ

ลักษณะที่สำคัญ :

- มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น เป็นพวกแรกผนังลำตัวอ่อนนิ่มมีซีเรีย ยกเว้นพวก ปรสิตจะมีคิวติเคิลหนา

- ลำตัวแบนยาว

- มีปากไม่มีทวารหนัก ลำไส้แตกแขนงทั่วตัว

- ระบบขับถ่ายเป็นเฟลมเซลล์

- มีสมองเป็นวงแหวนและมีเส้นประสาทตามยาว 1-3 คู่

- ไม่มีระบบหมุนเวียนโลหิต ไม่มีข้อหรือปล้องที่แท้จริง ไม่มี ปากช่องว่างในลำตัว

- การสืบพันธุ์ส่วนใหญ่อาศัยเพศ โดยมี 2 เพศในตัวเดียวกัน

ตัวอย่างสัตว์ในไฟลัมนี้ เช่น พลานาเรีย หนอนตัวแบน เช่น พยาธิใบไม้ในตับ ปอด ในเลือดและทางเดินอาหาร พยาธิตัวตืด

4. ไฟลัมนีมาเทลมินทิส (Phylum Nemathelminthes)

ได้แก่ พวกหนอนตัวกลม ส่วนใหญ่เป็นพวกปรสิตในคนและสัตว์

ลักษณะที่สำคัญ :

- ลำตัวกลมยาว หัวและท้ายแหลม ไม่มีปล้องและระยางค์ใด ๆ

- มีทางเดินอาหารสมบูรณ์คือ มีปากและทวารหนัก

- ไม่มีระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต พวกเป็นปรสิตจะหายใจ แบบไม่ใช้ O2 ส่วนพวกหากินเป็นอิสระจะหายใจทางผิวหนังและ บริเวณลำตัว

- ผิวหนังมีคิวติเคิลหนาทนต่อสิ่งแวดล้อมได้ดี

- มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ซูโดซีลอม (Pheudocoelom) มีกล้ามเนื้อตามยาวเท่า นั้นที่ใช้สำหรับเคลื่อนไหว

- มีสมองเป็นวงแหวนอยู่รอบทางเดินอาหาร และต่อกับเส้น ประสาทยาวตลอดตัว

- ระบบสืบพันธุ์จะแยกคนละตัว ตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้

ตัวอย่างของสัตว์ในไฟลัมนี้ เช่น พยาธิไส้เดือนตัวกลม พยาธิตัวจี๊ด

พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย ไส้เดือนฝอย และหนอน

ในน้ำส้มสายชู (ดำรงชีพอย่างอิสระ)

5. ไฟลัมแอนนีลิดา (Phylum Annelida)

พบทั้งบนบก ในน้ำจืดและน้ำทะเล

ลักษณะที่สำคัญ :

- ลำตัวกลมยาวเป็นวงแหวนต่อกันเป็นปล้อง ผิวหนังมีคิวติเคิลบาง ๆ มีต่อมสร้างเมือก เพื่อทำให้ลำตัวชุ่มชื้นตลอดเวลา มีระยางค์เรียก เดือย ในแต่ละปล้อง(ยกเว้น ปลิง)

- มีช่องว่างในลำตัวที่แท้จริง (Eucoelom) แบ่งเป็นห้องตามขวาง ลำตัวมีกล้ามเนื้อตามยาว และกล้ามเนื้อวงแหวน

- ระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ ระบบเลือดเป็นแบบปิด เลือดเป็นสี แดง เพราะมีฮีโมโกลบินละลายอยู่ในเลือด ส่วนเม็ดเลือดจะไม่มีสี

- หายใจทางผิวหนัง หรือเหงือก มีเนฟริเดียม (Nepheridium) ปล้อง 1 คู่ เป็นอวัยวะขับถ่าย มีรูปมีสมอง 1 คู่ มีเส้นประสาทเชื่อมกับเส้น ประสาทกลางตัวทางด้านล่าง มีอวัยวะรับความรู้สึกกับการสัมผัส กลิ่นและแสง

- ระบบสืบพันธุ์ มี 2 เพศในตัวเดียวกัน แต่ผสมพันธุ์ในตัวเองไม่ได้

ตัวอย่างสัตว์ในไฟลัมนี้ เช่น ไส้เดือนดิน ไส้เดือนทะเล ปลิงน้ำจืด ทากดูดเลือด โพลิขีด แม่เพรียง หรือตัวสงกรานต์

6. ไฟลัมอาร์โทรโปดา (Phylum Arthropoda)

ลักษณะที่สำคัญ :

- ลำตัวเป็นปล้องแบ่งเป็นส่วนหัว อก ท้อง ลำตัวมีสารไคตินหุ้มเป็น เปลือกหนา มีการลอกคราบ

- มีระยางค์ ต่อกันเป็นข้อทำให้เคลื่อนที่ได้เร็ว

- มีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์

- ระบบเลือดแบบเปิด เลือดจะออกจากหัวใจไปตามช่องว่างภายใน ลำตัวที่เรียกว่า ช่องฮีโมซีส (Haemocoel) แล้วไหลกลับเข้าสู่หัวใจที่ อยู่ด้านบนของลำตัว

- สัตว์ที่อยู่บนบกหายใจด้วยท่อลม หรือแผงปอด หรือสัตว์ที่อยู่ใน น้ำจะหายใจด้วยเหงือก บางชนิดมีแผงเหงือก

- กุ้งมีต่อมเขียว (Green gland)แมลงมีท่อมัลปิเกียน (Malpighim tubele) ส่วนสัตว์บางชนิดมีต่อม Coxal gland ที่โคนขาเป็นอวัยวะ ขับถ่าย

- มีสมองแบบวงแหวนล้อมรอบหลอดอาหาร ซึ่งไปเชื่อมกับเส้น ประสาทคู่ด้านท้อง ซึ่งจะมีปมประสาทอยู่ทุกปล้อง มีหนวด (antenna) และขนใช้รับสัมผัสและรับรู้สารเคมี มีอวัยวะรับเสียงและ การทรงตัว ตามีชนิดตาเดี่ยว

7 ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) สัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ หอย และปลาหมึก บางชนิดอยู่บนบกหรือเราเรียกสัตว์ในไฟลัมนี้ว่า มอลลัสก์ (Mollusc)

ลักษณะที่สำคัญคือ :

- มีลำตัวอ่อนนิ่ม มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น มีต่อมเมือก บางชนิดมีเปลือกแข็ง หุ้มทั้งแบบฝาเดี่ยวและฝาคู่

- มีหัวด้านหน้าลำตัวสั้น ด้านล่างมีแผ่นเท้าขุดฝังตัวและใช้ว่ายน้ำ

- เปลือกแข็งที่หุ้มถูกสร้างจากเยื่อแมนเทิล (Mantle)

- มีระบบหมุนเวียนเลือด มีหัวใจอยู่ด้านบนและมีเส้นเลือดนำเลือด ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ

- บางชนิดหายใจด้วยเหงือก บางชนิดมีถุงหายใจคล้ายปอด บางชนิด หายใจด้วยปอด เช่น หอยทาก และทาก

- มีไตเป็นอวัยวะขับถ่าย ถือเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกเดียว เท่านั้นที่ใช้ไตในการขับถ่าย

- มีปมประสาท 3 คู่ มีเส้นประสาทเชื่อมระหว่างปมประสาท มีอวัยวะรับภาพ รับกลิ่น และการทรงตัว สัตว์ในไฟลัมนี้เช่น หอยทาก หอยงวงช้าง หอยงาช้าง หอยกาบคู่ หอยกาบเดี่ยว เป๋าฮื้อ ทากทะเล ลิ่นทะเล หมึกทะเลชนิดต่าง ๆ

8. ไฟลัมเอไคโดเนอร์มาตา (Phylum Echinodemata) เป็นสัตว์ที่อยู่ ในทะเลทั้งสิ้น และไม่มีชนิดใดเป็นปรสิต

ลักษณะที่สำคัญ :

- มีโครงแข็งภายในเป็นหินปูนขรุขระ บางชนิดมีหนามยื่นออกมา

- จากจุดศูนย์กลางของลำตัวมีแขนยื่นออกมา รวมทั้งสามารถงอก ส่วนที่ขาดหายไปได้

- มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ มีปากอยู่ทางด้านล่างทวารหนัก เปิดอยู่ ทางด้านบน

- มีระบบเลือดแบบเปิด

- มีเท้าท่อหรือทิวป์ฟิต (Tube feel) ใช้เคลื่อนที่และหาอาหาร

- หายใจโดยใช้เหงือก

- มีระบบประสาทเป็นวงแหวนรอบปากและมีแขนงไปส่วนต่าง ๆ

- ระบบสืบพันธุ์แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอกตัว (External fertilization) บางชนิดสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

ตัวอย่างสัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ ดาวทะเล ดาวเปราะ ปลิงทะเล พลับพลึงทะเล

9. ไฟลัมคอร์ดาต้า (Phylum Chordata)

ลักษณะที่สำคัญ :

- มีโนโตคอร์ด (Notochord) เป็นแกนของร่างกายในระยะตัวอ่อน หรืออาจมีตลอดชีวิต

- มีช่องเหงือกในระยะตัวอ่อน เมื่อโตจะหายไป แต่บางชนิดจะมีอยู่ ตลอดชีวิต

- มีไขสันหลังเป็นท่อยาวกลม อยู่ด้านหลังเหนือโนโตคอร์ด เป็นแท่งที่เกิดจากเนื้อเยื่อ พวกมีโซเดิร์มอยู่เหนือทางเดินอาหารแต่ อยู่ใต้ไขสันหลัง จะมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมีลักษณะเป็นเส้นใยหุ้มเอาไว้
สรุปบทที่ 4


1.1 การย่อยอาหารของจุลินทรีย์

1.1.1 การย่อยอาหารของแบคทีเรียและรา

การย่อยเป็นการย่อยภายนอกเซลล์ (extracellular digestion) เนื่องจากแบคทีเรียและรา ไม่สามารถนำสารโมเลกุลใหญ่เข้าสู่เซลล์ ต้องส่งน้ำย่อยหรือเอนไซม์ออกย่อยสารโมเลกุลใหญ่ การย่อยสลายโดยแบคทีเรียและรา จะขึ้นอยู่กับเอนไซม์ของจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ ว่าสามารถย่อยสารใดได้บ้าง ทำให้เกิดความเฉพาะเจาะจง เช่น ยีสต์ มีเอนไซม์ในการย่อยสลายน้ำตาล และไม่มีเอนไซม์ย่อยแป้ง

1.1.2 การย่อยอาหารของโพรโทซัว

โพรโทซัวจัดเป็นโพรทิสต์ที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เพราะสร้างอาหารเองไม่ได้ ไม่มีผนังเซลล์ แต่สามารถเคลื่อนที่ได้ ไม่มีระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหาร แต่อาศัยส่วนต่างๆของเซลล์ในการน้ำอาหารเข้าสู่เซลล์ และย่อยภายใน เรียกว่า การย่อยภายในเซลล์ (intracellular digestion) เช่น อะมีบา และพารามีเซียม

• การย่อยอาหารของอะมีบา อะมีบาเคลื่อนที่ด้วยขาเทียม นำอาหารเข้าสู่เซลล์โดยการยื่นส่วนของขาเทียมออกไปโอบล้อมอาหารแลทำให้อาหารตกเข้าไปอยู่ภายในเซลล์ อาหารนี้จะเรียกว่า ฟูดแวคิวโอล (food vaceuole) – พบในเซลล์เม็ดเลือดขาว น้ำย่อยของอะมีบาส่วนใหญ่ เป็นกรดเกลือ (HCl)

การย่อยอาหารของพารามีเซียม พารามีเซียมเคลื่อนที่ด้วยขนเซลล์ (cilia) ขนเซลล์ที่บริเวณร่องปาก (undulating membrane) จะทำหน้าที่ในการโบกพัดให้อาหารตกลงสู่ร่องปาก (oral groove) จนถึงส่วนของคอหอยและถูกสร้างเป็นฟูดแวคิวโอว

อะมีบาและพารามีเซียมมีวิธีการกินอาหารที่แตกต่างกัน คือ อะมีบานำอาหารเข้าสู่เซลล์โดยวิธีการฟาโกไซโทซีส แต่พารามีเซียมมีขนเซลล์บริเวณร่องปากทำหน้าที่เป็นทางเข้าของอาหาร ซึ่งจะมีความเฉพาะเจาะจงกว่า

• การย่อยอาหารของยูกลีนา ได้อาหารโดยวิธีการสังเคราะห์ด้วยแสง เนื่องจากมีโครมาโทฟอร์ (chromatophroe) รงควัตถุที่มีคลอโรฟีลล์เอและคลอโรฟีลล์บี แล้วยังคงดำรงชีวิตแบบแซโพรไฟต์ได้ด้วย โดยย่อยอาหารที่อยู่รอบๆ แล้วส่งเข้าปาก สรุปได้ว่า ยูกลีนาเป็นทั้งผู้สร้างและผู้บริโภค


1.1 การย่อยอาหารของสัตว์

1.1.1 การย่อยอาหารของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง

1) การย่อยอาหารของสัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหาร

ฟองน้ำ (sponge) เป็นสัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหารหรือมีทางเดินอาหารเป็นแบบช่องร่างแห (channel network) แต่ก็ไม่ใช่ทางเดินอาหารที่แท้จริง เป็นเพียงทางผ่านของน้ำ ภายนอกàภายใน ประกอบด้วย

• ออสเทีย (ostia) เป็นรูเปิดเล็กๆ

หน้าที่ เป็นทางน้ำไหลเข้าสู่ลำตัวฟองน้ำ

ออสคิวลัม (osclum) เป็นรูที่มีขนาดใหญ่กว่าออสเทียและมักอยู่กลางลำตัว ที่ผนังด้านในมีเซลล์พิเศษ จะมีแส้เซลล์ เรียกว่า "เซลล์โคแอโนไซด์ (choanocyte)" โบกพัดตลอดเวลา

หน้าที่ เซลล์โคแอโนไซด์พัด ทำให้เกิดการไหลเข้าออกของน้ำ

อาหารของฟองน้ำ เป็นจำพวกแพลงตอนที่มากับน้ำ จะถูกเซลล์โคแอโนไซต์จับและย่อยแล้วส่งไปยังเซลล์

ที่คล้ายอมีบา เรียกว่า "เซลล์อะมีโบไซต์ (amoebocyte)" ทำหน้าที่ย่อย แล้วส่งไปยังเซลล์อื่นๆ

ฟองน้ำมีการย่อยอาหารภายในเซลล์เช่นเดียวกับโพรโทซัว แต่ต่างที่ฟองน้ำเป็นสัตว์หลายเซลล์และมีเซลล์เฉพาะ(เซลล์อะมีโบไซต์) ถึงอย่างนั้นการย่อยก็ยังคงไม่ซับซ้อนเช่นเดียวกับโพรโทซัว

2) การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์

เป็นทางเดินอาหารแบบปากถุง (on-hole-sac) เป็นแบบทางเดินอาหารเปิดทางเดียว มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก ปากทำหน้าที่ทั้งทางเข้าของอาหารและทางออกของกากอาหารไปพร้อมๆกัน จะเป็นระบบการย่อยที่ยังพัฒนาไปไม่มากนัก

1. การย่อยอาหารของไฮดรา

ไฮดราจัดเป็นซีเลนเทอเรตชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในไฟลัมซีเลนเทอราดา (coelenterate) มีทางเดินอาหารเป็นแบบปากถึง อาหารของไฮดราจะเป็นจำพวกตัวอ่อนของสัตว์ทะเลตัวเล็กๆ ไรน้ำ ไฮดรามี หนวดจับ (tentacle) อยู่รอบปากซึ่งเอาไว้จับอาหาร และให้เซลล์ที่มีเนมาโทซิสต์ (nematocyst) หรือเข็มพิษที่อยู่ที่หนวดจับแทงและฆ่าเหยื่อ ทางเดินอาหารจะอยู่ตรงกลางลำตัวเป็นท่อกลวง เรียกว่า ช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ (gastrovascular cavity) บุด้วยเซลล์ทรงสูงเรียกว่า ชั้นแกสโทเตอร์มิส (gastrodermis)

1. นิวทริทิพ เซลล์ (nutritive cell) เป็นเซลล์ที่มีลักษณะอ้วน บางเซลล์มีแส้เซลล์ 1 หรือ 2 เส้น เรียกว่า แฟลเจลเลตเซลล์ (flagellate cell) บางเซลล์มีลักษณะคล้ายอมีบ้า จริงเรีนกว่า อะมีบอยด์เซลล์ (amoeboidcell)

หน้าที่ อะมีบอยด์เซลล์ - ยื่นขาเทียมออกมาล้อมจับอาหารแล้วจังย่อยอาหารและทำหน้าที่ดูดอาหารที่ย่อยแล้ว ส่วนแฟลเจลเลตเซลล์ - โบกพัดให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำและอาหารภายในช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ และพัดกากอาหารให้เคลื่อนที่ออกด้วย

2. เซลล์ต่อมหรือเซลล์ย่อยอาหาร (gland cell or digestive cell) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยแล้วปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยอาหารพบมากบริเวณใกล้ๆปาก การย่อยโดยเซลล์ต่อม จัดเป็นการย่อยแบบนอกเซลล์ ส่วนการย่อยแบบ อะมีบอยด์เซลล์จัดเป็นการย่อยแบบภายในเซลล์

1. การย่อยอาหารของหนอนตัวแบน

เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส (platyhelminthes) จำพวก พลานาเรีย พยาธิใบไม้และพยาธิตัวตืด

1. การย่อยอาหารของพลานาเรีย

อาหารของพลานาเรีย ได้แก่ เนื้อสัตว์ชิ้นเล็กๆ ตัวอ่อนแมลง ไรน้ำ หนอนเล็กๆ ทางเดินอาหารของพลานาเรียมี 3 แฉก ปากอยู่บริเวณกลางลำตัวและมีงวงหรือโพรบอซิส (probosis) ที่ยืดหดได้คอยจังอาหารเข้าสู่ปาก ทางเดินอาหารส่วนหัวมี 1 แฉก และลำตัว มี 2 แฉก แต่ละแฉกจะมีแขนงของทางเดินอาหารแยกแขนงแยกย่อยออกไปอีก เรียกว่า "ไดเวอร์ทิคิเวลัม" (diverticulum) ส่วนกากอาหาร ก็จะถูกส่งออกทางปาดเช่นเดียวกัน

2. การย่อยอาหารของพยาธิใบไม้

ประกอบไปด้วยปากอยู่ทางด้านบนสุดต่อจากปากเป็นคอหอย (pharynx) เป็นกล้ามเนื้อหนา ต่อจากคอหอยเป็นหลอดอาหารสั้นๆ ต่อกับสำไส้ (intestine) แตกแขนงเป็น 2 แฉกใหญ่ๆ และแตกย่อยๆไปทั่วร่างกาย ไดเวอร์ทิคิวลัม(แขนง)ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ โดยไม่ต้องอาศัยระบบการลำเลียง ส่วนกากอาหารก็ถูกกำจัดออกทางปาก

3. การย่อยอาหารของพยาธิตัวตืด

เป็นสัตว์ที่ไม่มีระบบทางอาหาร ที่ส่วนหัวของพยาธิตัวตืด มีแว่นดูด (sucker) ทำหน้าที่ ดูดเกาะตัวถูกเบียดเบียนหรือโฮสต์ (host) ในพยาธิตัวตืดหมูและพยาธิตัวตืดวัว มีแว่นดูด 4 อัน และยังมี ขอ(hook) ทำหน้าที่เกาะและยึดติดกับผนังลำไส้ของตัวโฮสต์ พยาธิตัวตืดจะเก็บสะสมอาหารในรูปของไกลโคเจน ถ้าพยาธิตัวตืดขาดแคลนอาหารจะนำไกลโคเจนมาใช้ และถ้าหมดจะนำไข่แดงมาใช้ ถ้าหมดก็จะนำอวัยวะสืบพันธุ์มาใช้ ซึ่งทำให้ตัวมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ และตายยากมาก

1. การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์

1. การย่อยอาหารของหนอนตัวกลม

จัดอยู่ในไฟลัมเนมาโทดา (nematode) ระบบย่อยอาหารเป็นแบบเปิด 2 ทาง หรือท่อกลวง (two hole tube) เริ่มจาก ปาก à คอหอย ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อหนาและสั้น à ลำไส้เล็กยาว à ทวารหนัก ซึ่งจะเปิดรวมกับท่อของระบบสืบพันธุ์เป็นทวารร่วมหรือโคลเอกา (cloaca) ส่วนตัวเมียทวารหนักจะแยกกับท่อสืบพันธุ์ ช่วงของลำไส้มีความยาวเกือบตลอดลำตัว มีการย่อยและดูดซึมในบริเวณนี้


ปาก à คอหอย à ลำไส้เล็ก à ทวารร่วม à ทวารหนัก

2. การย่อยอาหารของหอยกาบ

1. ปาก – อยู่ใต้กล้ามเนื้อยึดฝาทางด้านหัว ประกอบด้วยช่องปากเล็กๆ 2 ข้าง มีแผ่นเนื้อรูปสามเหลี่ยมเรียกว่า เลเบียลพัลพ์ (labial palp) ข้างละคู่ โบกพัดอาหารใส่ปาก

2. หลอดอาหาร – เป็นท่อสั้นๆต่อจากปาก à กระเพาะอาหาร

3. กระเพาะอาหาร – เป็นถุงเล็กๆ ผนังหนา ฝังอยู่ในตับ (digestive gland) ตับสร้างน้ำย่อยส่งไปกระเพาะ

4. ลำไส้ – เป็นท่อยาวขดไปขดมาฝังอยู่ภายในอวัยวะสืบพันธุ์ (gonad) ส่วนปลายวกกลับขึ้นมาข้างบน ระดับเดียวกับกระเพาะ

5. ไส้ตรง – ท่อที่ต่อจากลำไส้เล็กมีลักษณะเป็นท่อตรงยาวไปตามความยาวของลำตัวด้านหลัง ผ่านเข้าไปในเพอริคาร์เดียม และแทงทะลุหัวใจส่วนเวนทริเคิล

6. ทวารหนัก – อยู่ส่วนปลายของไส้ตรงเหนือกล้ามเนื้อยึดกาบทางตอนท้ายลำตัว เปิดออกตรงช่องน้ำออก (excurrent siphon) อาหารเป็นจำพวกแพลงก์ตอนพืชและสัตว์เล็กๆที่ไหลมาตามน้ำ เข้าทางช่องน้ำเข้า(incurrent siphon) เลเบียลพัลพ์ทำหน้าที่โบกพัดและกวาดให้อาหารตกลงไปในปาก à หลอดอาหาร à กระเพาะอาหาร à ลำไส้ à กากอาหาร à ทวารหนัก ซึ่งจะออกไปพร้อมน้ำทางช่องน้ำออก

ตับ (สร้างน้ำย่อย)

ปาก à หลอดอาหาร à กระเพาะอาหาร à ลำไส้ à ไส้ตรง à ทวารหนั

3. การย่อยอาหารของไส้เดือน

เป็นสัตว์จำพวกหนอนตัวกลมมีปล้องต้องจัดอยู่ในไฟลัมแอนเนลิดา อาหารจะเป็นจำพวก เศษพืช และอินทรีย์ ระบบการย่อยอาหารประกอบด้วย

1. รูเปิดทางด้านหน้าของปล้องที่หนึ่งถือว่าเป็นปาก

2. ช่องปาก (buccal cavity)

3. คอหอย (pharynx) ที่มีลักษณะพองออก ที่คอหอยจะมีกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ ฮุบดิน และ ดันให้ดินพร้อมอาหารผ่านเข้าสู่หลอดอาหาร (esophagus)

4. กระเพาะพักอาหาร (crop)

5. กึ๋น (gizzard) เป็นส่วนที่เรียกว่ากระเพาะบดอาหาร ภายในมีกล้ามเนื้อหนาและแข็งแรง ทำหน้าที่บดอาหารให้มีขนาดเล็กลง

6. ลำไส้ เป็นทางเดินอาหารที่มีขนาดยาวมากที่สุด เซลล์เยื้อบุผนังจะสร้างน้ำย่อยมาย่อยอาหาร แล้วอาหารที่ถูกย่อยแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบลำเลียง

7. ทวารหนัก กากอาหารที่ย่อยไม่ได้แล้วจะถูกส่งมายังทวารหนักแล้วขับออกนอกร่างกาย

ทางด้านบนของลำไส้จะมีส่วนที่ยื่นลงมา เรียกว่า ไทโฟลโซล (typholsole) ช่วยให้ลำไส้ขยายขนาดขึ้นเมื่อมีอาหารอยู่ภายใน และเพิ่มประสิทธิภารในการย่อยและดูดซึม


ปาก à ช่องปาก à คอหอย à หลอดอาหาร à ลำไส้ à กระเพาะอาหาร à กระเพาะบดอาหาร à ทวารหนัก à ลำไส้