สรุปเนื้ื่อหา
1. การวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตมีหลายลักษณะคือ การดำรงอยู่
การเกิดใหม่ การกลายพันธุ์และการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์ต่าง ๆ
2.ข้อมูลทางธรณีวิทยาที่สามารถอธิบายความเป็นมาของพื้นที่ในอดีตได้แก่
อายุทางธรณีวิทยา ซากดึกดำบรรพ์ โครงสร้างและการลำดับชั้นหิน
3. อายุทางธรณีวิทยาแบ่งเป็น 2 แบบคือ
อายุเทียบสัมพันธ์และอายุสัมบูรณ์
4.อายุเทียบสัมพันธ์หมายถึงอายุหินเปรียบเทียบซึ่งบอกว่า
หินชุดใดมีอายุมากหรือน้อยกว่ากันโดยนำมา
เทียบสัมพันธ์กับช่วงเวลาทางธรณีวิทยาที่เรียกว่าธรณีกาล
5. อายุสัมบูรณ์หมายถึง อายุของหินหรือซากดึกดำบรรพ์
ที่สามารถบอกเป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน
6. การหาอายุสัมบูรณ์ใช้วิธีคำนวณจาก
ครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในหินหรือซากดึกดำบรรพ์
7. ธาตุกัมมันตรังสีที่นิยมนำมาหาอายุสัมบูรณ์ได้แก่ ธาตุคาร์บอน-14
,ธาตุโพแทสเซียม-40 , ธาตุเรเดียม-226และธาตุยูเรเนียม-238
8. การหาอายุสัมบูรณ์มักใช้กับหินที่มีอายุมากประมาณ
แสนหรือล้านปีขึ้นไป
9. ส่วนตะกอนและซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุน้อยกว่า 50,000
ปีมักใช้วิธี กัมมันตภาพรังสีคาร์บอน-14
10. ซากดึกดำบรรพ์ของหอยนางรมที่วัดเจดีย์หอย อำเภอหลุมแก้ว จังหวัดประทุมธานี
มีอายุประมาณ 5,500 ปี
11. ซากดึกดำบรรพ์คือ
ซากของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น
เมือตายลงซากก็ถูกทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นหินตะกอน
12. ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี หมายถึง ซากดึกดำบรรพ์ที่บอกอายุได้แน่นอน
เนื่องจากเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปร่างอย่างรวดเร็ว
มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด
13. หินทรายแดงที่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล มีอายุประมาณ 570-505
ล้านปีมาแล้วเนื่องจาก มีการพบซากดึกดำบรรพ์ไทโลไบต์
14. ซากดึกดำบรรพ์ส่วนใหญ่มักพบอยู่ในลักษณะ
ปรากฏเป็นซากเดิมหรือโครงร่างส่วนที่แข็งที่อยู่ในหินตะกอน
15. ซากดึกดำบรรพ์ที่พบครั้งแรกที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่นคือ
ไดโนเสาร์ประเภทเดินสี่เท้า กินพืชเป็นอาหาร คอและหางยาว
16. ซากไดโนเสาร์ที่พบส่วนมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในชั้นหินทรายแป้ง
เป็นหินอยู่ในยุคไทรแอสสิกตอนปลายถึงยุคครีเตเชียสตอนกลาง
17. ซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นพืชที่เคยพบในไทยได้แก่ ใบไม้
ละอองเรณู สปอร์ สาหร่ายทะเลและไม้กลายเป็นหิน
18.ลักษณะของซากดึกดำบรรพ์ที่ปรากฏในปัจจุบันมีลักษณะ
หลายประการคือ
1. แข็งกลายเป็นหิน 2. อยู่ใสภาพแช่แข็ง
3.ถูกอัดในยางไม้หรืออำพัน
19. หินที่สามารถเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ได้ดีคือ
หินตะกอน
20. ลำดับอายุของชั้นหินจากอายุน้อยไปหาอายุมากคือ
หินทราย หินกรวดมน หินปูน หินดินดาน
21. การศึกษาธรณีประวัติทำให้ได้ประโยชน์คือ
นำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนพัฒนาและใช้ประโยชน์จากพื้นที่
ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม สำรวจหาทรัพยากรธรณี
22.เหตุผลที่ยืนยันว่าบริเวณพื้นที่จังหวัดลำปางเมื่อหลายล้านปีก่อน
เคยเป็นทะเลมาก่อนคือพบซากดึกดำบรรพ์ของหอยกาบคู่และหอยงวงช้าง
สะสมในชั้นหิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น