ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซต์ นายสุวัฒชัย แสงคำ โรงเรียนเมืองแกพิทยาคม อ.สตึก จ.บุรีรัมย์..ครับ..โทร 0819559894 email su_watchai11@hotmail.com...http://watchait.blogspot.com..***ยิน ดี ต้อน รับ ทุก ท่าน+++++ ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ......

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเจริญเติบโตของกบ

การเจริญเติบโตของกบ


ลักษณะทั่วไป

กบเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ อาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำตื้น ๆ หรือแอ่งน้ำเล็ก ๆ มีหัวลักษณะคล้ายรูปทรงสามเหลี่ยม มีสัณฐานค่อนข้างแบนเรียบ ปากกว้าง นัยน์ตากลมโตและโปนโดยบริเวณหนังตามีแผ่นเนื้อเยื่อบาง ๆ ซึ่งจะทำหน้าที่เปิดและปิดนัยน์ตาดำของกบ มีหูอยู่บริเวณด้านหลังของนัยน์ตาที่มีลักษณะเป็นแอ่งกลม ๆ ทำหน้าที่เหมือนกับแก้วหูของมนุษย์ มีรูจมูกสองรูอยู่ด้านหน้าของนัยน์ตา ภายในปากมีฟันขนาดไล่เลี่ยกันคล้ายกับซี่เลื่อย ลิ้นมีปลายแยกออกเป็นสองแฉก ใช้สำหรับจับแมลงและสัตว์อื่นเป็นอาหาร หายใจโดยใช้ปอดและสามารถหายใจได้ทางผิวหนัง มีการพบกบบางชนิดในอินโดนีเซียไม่มีปอด หายใจโดยผิวหนังอย่างเดียว ในช่วงฤดูแล้ง กบโดยทั่วไปจะอยู่แต่ในรูและไม่ออกหาอาหารชั่วคราว ภาวะนี้มักเรียกว่า “กบจำศีล”

การเจริญเติบโตของกบ





เซลล์ของกบไม่มีเปลือกห่อหุ้มแต่มีวุ้นห่อหุ้มอยู่โดยรอบเมื่อลอยน้ำจะเห็นด้านที่มีสีเหลืองอยู่ด้านล่าง เนื่องจากมีไข่แดงซึ่งเป็นอาหารสะสมอยู่ส่วนด้านบนสีเทาเข้มจนเกือบเป็นสีดำ เนื่องจากมีสารสีอยู่หนาแน่นที่บริเวณใกล้ผิวของเซลล์เมื่อ ไซโกตจะเริ่มมีการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ สามารถสรุปการเปลี่ยนแปลงในระยะเอ็มบริโอของกบได้ 4 ขั้นตอน คือ



1. คลีเวจ (cleavage)

เป็นกระบานการที่ไซโกตมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสอย่างรวดเร็ว ทำให้เอ็มบริโอมีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้น แต่ขนาดของแต่ละเซลล์ของเอ็มบริโอเล็กลงตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดระยะคลีเวจจะได้เอ็มบริโอที่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมากมาย

2. บลาสทูเลชัน (blastulation)

เป็นกระบวนการที่เซลล์ของเอ็มบริโอมีการจัดเรียงตัวเป็นชั้นอยู่รอบนอกตรงกลางเป็นช่องว่างที่มีของเหลวบรรจุอยู่เต็ม เรียกว่า บลาสโทซีล (blastocels) เรียกเอ็มบริโอระยะนี้ว่า บลาสทูลา (blastula)

3. แกสทรูเลชัน (gastrulation)

เป็นกระบวนการที่เซลล์มีการเคลื่อนที่และจัดเรียงตัวเป็นเนื้อเยื่อเอ็มบริโอ (embryonicgerm layer) ชั้นต่างๆโดยมีการเคลื่อนที่ของเซลล์ในลักษณะต่างๆ เช่น กลุ่มเซลล์ชั้นนอกบุ๋มตัวเข้าไปข้างใน หรือมีการม้วนตัวเข้าไปในช่องว่างภายในเอ็มบริโอ เป็นต้น เอ็มบริโอที่ผ่านกระบวนการนี้จะมีรูปร่างต่างไปจากเดิม ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ เอกโทเดิร์ม (ectoderm) เมโซเดิร์ม (mesoderm) และเอนโดเดิร์ม (endoderm) เรียกเอ็มบริโอระยะนี้ว่า แกสทรูลา (gastrula)

4. ออแกโนเจเนซิส (organognesis)

เป็นกระบวนการที่เนื้อเยื่อทั้ง 3 ชั้น ของเอ็มบริโอมีพัฒนาการไปเป็นอวัยวะต่างๆ

ตัวอ่อน (larva) ของกบที่ฟักออกจากไข่ เรียกว่า ลูกอ๊อด จะมีลักษณะแตกต่างไปจากพ่อแม่ ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะการดำรงชีวิตเรียกกระบวนการนี้ว่า เมทามอร์โฟซิส (metamorphosis) จนกระทั่งได้สัตว์ที่มีลักษณะเหมือนพ่อแม่

วัฏจักรชีวิตของกบ วงจรชีวิตของกบ



การเจริญเติบโตของกบ เมื่อไข่กบมีการปฏิสนธิแล้ว จะฟักออกจากไข่เป็นลูกอ๊อดแล้วเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นกบ ขั้นตอนการเจริญเติบโตของกบ คือ

1.ไข่กบ มีลักษณะเป็นเม็ดกลม มีสีน้ำตาลปนเขียว เกาะกันเป็นแพลอยปริ่มน้ำ กลุ่มละประมาณ 50-150 ฟอง ถ้ามีอุณหภูมิพอเหมาะ ไข่กบที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะฟักเป็นตัวภายใน 3 วัน

2. ลูกอ๊อด มีลักษณะคล้ายลูกปลา หัวโต หางยาว และหายใจด้วยเหงือก

3. กบ อาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอด มีขา 2 คู่ คือ ขาหน้า 1 คู่ ขาหลัง 1 คู่ เมื่อขาของกบงอกจนครบแล้ว หางก็จะหดหายไป

กบที่พบในประเทศไทยนั้นมีถึง 34 ชนิด และในต่างประเทศอีกหลายชนิด ซึ่งรวมแล้วไม่น้อยกว่า 100 ชนิด กบบางชนิดมีขนาดที่ใหญ่มาก บางชนิดมีขนาดปานกลาง และบางชนิดก็มีขนาดเล็ก แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ตัวอย่างกบที่นิยมเลี้ยง เช่น

1. กบนา ( Rana tigerina Daudin) เป็นกบขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ ตัวที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 5 นิ้ว ขนาด ประมาณ 4 ตัวต่อกิโลกรัม

2. กบบัว (Rana rugulosa Wiegmann) เป็นกบขนาดกลางตัวที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 5 นิ้ว ขนาดประมาณ 6 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม

3. กบภูเขา หรือเขียดแลว (Rana bythii Boulenaer) เป็นกบพื้นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวที่โตเต็มที่ขนาดประมาณ 3 กิโลกรัม ขึ้นไป ชาวบ้านเรียกกันอีกชี่อหนึ่งว่า กบคลอง พบมากแถบภาคเหนือและภาคใต้

4. กบบูลฟรอค (Rana catesbeiana show) เป็นกบที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เข้าใจว่าใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา โตเต็มที่มีน้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัมขึ้นไป ตัวที่โตมีความยาวถึง 8 นิ้ว

รูปแบบการเจริญเติบโตของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ



สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ เขียด คางคก จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในขณะที่เจริญเติบโต โดยที่ตัวเต็มวัยของสัตว์ประเภทนี้จะวางไข่ในน้ำ ตัวอ่อนที่ฟักออกมาจากไข่จะมีหางเหมือนปลาเรียกว่า ลูกอ๊อด ซึ่งหายใจโดยใช้เหงือก เคลื่อนที่โดยใช้หางว่ายไปมา ลูกอ๊อดจะค่อยๆ เจริญเติบโต โดยมีขาหลังงอกออกมาก่อน แล้วจึงมีขาหน้างอกตามออกมา และหางจะหดสั้นลงจนหายไปในที่สุด

ซึ่งเหงือกก็จะหายไปด้วกลายเป็นลูกกบขึ้นมาอาศัยอยู่บนบก หายใจโดยใช้ปอดและผิวหนัง แล้วเจริญเติบโตกลายเป็นตัวเต็มวัยซึ่งสามารถสืบพันธุ์ได้

รูปแสดงการเจริญเติบโตของกบ



สมาชิกในกลุ่ม

1. นางสาวพรพรรณ รสหอม เลขที่ 13

2. นางสาวปวีณา ชุยรัมย์ เลขที่ 19

3. นางสาวจตุพร สำรวมจิต เลขที่ 28

4. นางสาวปานิดา ฉิวรัมย์ เลขที่ 33

5. นาวสาวมินตรา รสหอม เลขที่ 34

6. นางสาวสุพรรณี บุญมี เลขที่ 35

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น